หน้าแรก
การรับสมัครนักเรียน
คำถามที่ถูกถามบ่อย
ติดต่อโรงเรียน
บรรยากาศโรงเรียน
แผนที่
ร่วมงานกับเรา
หน้าแรก
รู้จักโรงเรียน
การเรียนรู้ในช่วงชั้น
ผลงานนักเรียน
เรื่องเล่าศิษย์เพลิน
คุณครูของเรา
เพลินกับการจัดการความรู้
ชุมชนเพลินพัฒนา
การรับสมัครนักเรียน
มาตรการเฝ้าระวัง COVID-19
ข่าวประชาสัมพันธ์
เครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
สรุปงานสัมมนาและเสวนา
ปฏิทินโรงเรียน
เมื่อพ่อแม่ต้องมาเป็น “ โค้ช ”
เมื่อพ่อแม่ต้องมาเป็น “ โค้ช ”
เริ่มต้นกันแล้วค่ะสำหรับกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ปกครองชั้นมัธยมต้นเพื่อเชิญชวนให้ร่วมเป็น “โค้ช” ในกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทาง Problem-to-project-based Learning (PBL)
กิจกรรมนี้เป็นงานต่อยอดจากการทำงานกับนักเรียนมัธยมตลอด ๒ ปีที่ผ่านมา พบว่า บทบาทของครูในฐานะ “โค้ช” (Coach) ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ในสาระที่สนใจและเกิดทักษะหลัก ๓ ด้านตามเป้าหมาย ในปีนี้จึงเชิญผู้ปกครองที่สนใจแนวทางนี้มาร่วมทำหน้าที่ “โค้ช” (ที่บ้าน) ด้วย
ผู้ปกครองจะได้เห็นภาพเป้าหมาย แนวทาง ขั้นตอน PBL ของมัธยม และมองเห็นบทบาทของผู้ปกครองในฐานะ “โค้ช” โดยจัดกิจกรรมคู่ขนานไปกับการทำโครงงานชื่นใจ...ได้เรียนรู้ของนักเรียน โดยผู้ปกครองจะเข้ากลุ่มเพื่อทำกิจกรรมต่อเนื่องกันในช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคมนี้ รวม ๓-๔ ครั้ง (ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงที่เด็กๆ เลือกหัวข้อโครงงาน ช่วงที่ทำงานกับครูที่ปรึกษาและกลุ่ม ช่วงการสรุปผลและเตรียมการนำเสนอ และอาจจะมีครั้งสุดท้ายหลังการนำเสนองาน) โดยมี ดร.บงกช เศวตามร์ (ครูต้น) ครูใหญ่ช่วงชั้นมัธยม และ คุณเกียรติยง ประวีณวรกุล (ครูพบ) นักจิตวิทยาคลินิกและที่ปรึกษาระดับชั้นมัธยม ร่วมเป็นวิทยากร
“เราประยุกต์แนวคิด PBL จากทั้ง Problem-based Learning และ Project-based Learning เราจะพานักเรียนให้ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเขาเอง เราจึงจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน และใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานที่สำคัญในการทำงาน นี่เป็นทักษะพื้นฐานที่ใช้ได้กับทุกวิชาไม่ใช่เฉพาะวิทยาศาสตร์ คือเริ่มจากการที่นักเรียนได้รับประสบการณ์ แล้วเกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์มาสู่การตั้งคำถามซึ่งจะเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ หาข้อสรุป และนำไปทดลองหรือประยุกต์กับสถานการณ์ปัญหาที่นักเรียนแต่ละคนสนใจ” คุณครูต้น
ประเด็นสำคัญที่ได้ร่วมพูดคุยกันในครั้งแรก นอกจากจะได้แนวคิดที่ว่า
“โค้ช”
คือผู้ปลดปล่อยศักยภาพของคนๆ หนึ่งอย่างเข้าใจความเป็นจริงเกี่ยวกับตัวเขา โดยการมองหาความเป็นไปได้ในอนาคต” อีกมุมมองหนึ่งก็เห็นว่า “โค้ช” คือ คนที่สามารถมองเกมออก เป็นผู้ร่วมทางและผู้ร่วมพัฒนาอย่างกัลยาณมิตร ต้องมีการพัฒนา มีอะไรใหม่ๆ ล่วงหน้าก่อนเด็ก” และ “โค้ชอาจไม่ต้องเชี่ยวชาญเท่าครูแต่ต้องกำกับ กำหนด ดูทิศทาง ดูภาพรวม ให้คำปรึกษาและแนะนำได้” แล้วก็ยังได้แนวทางของการทำงานกับลูกวัยรุ่นเพื่อส่งเสริมให้เขาเข้มแข็ง และฝึกฝนที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง
บทเรียนแรกของการเป็นโค้ชในช่วงที่ลูกๆ มัธยมต้นกำลังเลือกหัวข้อโครงงานฯ ซึ่งจะต้องเผชิญกับคำถามว่า “จะเอาเรื่องอะไรดี” หรือ “ไม่รู้จะทำอะไร” คือ การวางเป้าหมายร่วมกันกับลูกว่า การทำโครงงานชื่นใจฯ เป็นกระบวนการที่จะพัฒนาตัวเองเพื่อให้เกิดทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน และทักษะการจัดการข้อมูล และการทำเรื่องที่ลูกสนใจก็เพื่อให้ได้รู้จักตัวตนมาก เกิดความภูมิใจที่จะได้นำความสนใจของตนเองไปทำประโยชน์โดยที่ไม่ได้แข่งขันกับใคร การทำใจเป็นกลาง ฟังและมองลูกอย่างที่ลูกเป็นจริงๆ ทำความเข้าใจกับจุดอ่อน จุดแข็ง วิธีการเรียนรู้ ความสนใจ ความกังวล หรืออุปสรรคของลูก แล้วชวนกันมองหาความเป็นไปได้ ด้วยการการชวนกันมองโลกด้วย “มุมมองที่หลากหลาย” คือบทบาทแรกของการเป็นโค้ชที่จะช่วยให้ลูกได้ “เห็นจุดอ่อน จุดแข็งของตนด้วยตนเอง”
กิจกรรมนี้ไม่เพียงแต่จะจัดสำหรับผู้ปกครองนักเรียนระดับมัธยมเท่านั้น ครูต้นยังมีแผนที่จะเปิดกว้างสำหรับผู้ปกครองที่สนใจในระดับชั้นอื่นๆ ด้วยค่ะ
โดย : ส่วนสื่อสารองค์กร
การเรียนรู้ในช่วงชั้น
อนุบาล
ประถม
มัธยม
เทศกาลประจำปี
ปฏิทินเพลินพัฒนา
ดูปฏิทินกิจกรรมทั้งหมด
แผนที่โรงเรียนเพลินพัฒนา
โรงเรียนเพลินพัฒนาได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์กรมหาชน) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ ๓ พ.ศ.๒๕๕๗
โรงเรียนเพลินพัฒนา 33/39-40 ถ.สวนผัก แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทร.028852670-5 แฟกซ์ ต่อ 502
[email protected]
ค่า GPS : wgs84(x,y)(100.387720,13.787389),wgs84(พิกัด) E100,23,51.8 N13,47,14.6
สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ. 2547-2554 ทั้งภาพและเนื้อหาโดยโรงเรียนเพลินพัฒนา